วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

จัดสเปคคอม




                  สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องการจัดสเปค ของคอมพิวเตอร์นะครับ  สำหรับทุกท่านที่ต้องการจะ ซื้อ เครื่อง PC ซึ่งเราไม่รู้ว่ามีงบเท่านี้ เราจะได้สเปค เท่าไร  วันนี้เรามีเว็บๆนึงมานำเสนอครับซึ่งจะสามารถบอกเราได้ว่า  งบประมาณเราเท่านี้  เราจะได้ เครื่อง PC  สเปคเท่าไร  เมื่อพร้อมแล้ว  ไปกันเลยครับ

ชื่อเว็บไซต์ คือ notebookspec  :http://notebookspec.com/

           เมื่อเข้ามานะครับเราจะเจอกับหน้าแบบนี้นะครับ



จากนั้นเลือกที่ PC ครับ


จากนั้นคลิกที่  และ 


จะได้
 

ซึ่งเราสมารถเลือกราคา และเลือกตัว CPU  ได้ครับ  ซึ่งเราจะเลือก ราคาที่  17,500 บาทมาดูกันว่าเราจะได้คอม PC  สเปคเท่าไร







นี่คือสเปค PC ที่เราจะได้  แต่ถ้าเราจะเอาไว้เล่นเกม  ซึ่งราคาก็จะสูงขึ้น เราจะซื้อในราคา 21,000  บาท
มาดูกันว่าเราจะได้สเปค เท่าไร





นี่คือ สเปคคร่าวๆที่เราจะได้ไว้เล่นเกม  ในราคา  21000  บาท
สำหรับใครที่สนใจก็ลองเข้าไปดูนะครับ
 สวัสดีคร้าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

















วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการบู๊ตเครื่องในคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการบู๊ตเครื่องในคอมพิวเตอร์


สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูว่าขั้นตอนการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ จะบูตขึ้นมาให้เราใช้กัน มันมีขั้นตอนอะไรบ้าง   เราไปดูกันเลยคร้าบบบบบบบ!!!!!!

ขั้นตอนการบู๊ตเครื่องในคอมพิวเตอร์
1. พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน ในคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า พาวเวอร์ซัพพลาย ( power supply ) ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อเรากดปุ่มเปิด ( Power ON ) และเมื่อเริ่มทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย (เรียกว่าสัญญาณ Power Good )
2. ซีพียูจะสั่งให้ไบออสทำงาน ทันทีที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมายังคอมพิวเตอร์และมีสัญญาณให้เริ่มทำงาน หน่วยประมวลกลางหรือซีพียูจะพยายามเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในไบออสเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้โดยทันที
3. เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ กระบวนการ POST (power on self test) เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งในไบออสซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด , RAM , ซีพียู รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์ ซึ่งเราสามารถสังเกตผลการตรวจสอบนี้ได้ทั้งจากข้อความที่ปรากฏบนจอภาพในระหว่างบู๊ต และจากเสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ส่งออกมา (ซึ่งเป็นประโยชน์ในการที่แสดงผลทางจอภาพไม่ขึ้น) โดยปกติถ้าการตรวจสอบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาใด ๆ ก็จะส่งสัญญาณปี๊บสั้น ๆ 1 ครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติจะส่งสัญญาณที่มีรหัสเสียงสั้นและยาวต่างกันแล้วแต่ข้อผิดพลาด (error ) ที่พบ เช่น ถ้าเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณเป็นเสียงยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะมีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน

beep code

รูปแบบของเสียง

สาเหตุ

ไม่มีเสียง

 อาจมีปัญหากับ Power Supply, หรือสายสัญญาเสียงของลำโพงหลุด

1 ครั้ง

 ถ้าไม่มีภาพ แต่เครื่องทำงานปกติ ให้ตรวจสอบสายสัญญาภาพ ที่ต่อเข้ากับ VGA Card.

2 ครั้ง

 มีปัญหาที่ RAM หรือ ที่ เมนบอร์ด ลองถอดแล้วเสียบใหม่ หรือ ใช้ยางลบลบที่แถบทองแดงของผิวสัมผัสเพื่อการทำความสะอาด หรือ ถ้าRAM ไม่มีปัญหา ก็แสดงว่าเมนบอร์ดของเราเสียแล้วครับ

3 ครั้ง

 เหมือนเสียงดัง 2 ครั้ง

4 ครั้ง

 เหมือนเสียงดัง 2 ครั้ง

5 ครั้ง

 เหมือนเสียงดัง 2 ครั้ง

6 ครั้ง

 มีปัญหาเกี่ยวกับ Keyboard ลองเปลี่ยน Keyboard ใหม่ ถ้าไม่หายแสดงว่า Chip ที่ใช้ควบคุม Keyboard เสียครับ

7 ครั้ง

 CPU มีปัญหาแล้วครับ

8 ครั้ง

 VGA Card มีปัญหา ลองถอดออกแล้วเสียบใหม่

9 ครั้ง

ฺ Bios มีปัญหา

10 ครั้ง

 CMOS มีปัญหา

11 ครั้ง

 หน่วยความจำ Cache มีปัญหา



4. ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส ข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า configuration จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS – complementary metal oxide semiconductor ) ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยในการหล่อเลี้ยง โดยใช้แบตเตอรี่ตัวเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องสามารถจำค่าต่าง ๆ ไว้ได้ ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST นี้ จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลซีมอส ถ้าถูกต้องตรงกันก็ทำงานต่อได้ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน
5. ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับการบู๊ตระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือซีดีรอม โดยที่ไบออสจะมีความสามารถในการติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้
6. โปรแกรมส่วนสำคัญจะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ RAM เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรมส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าเคอร์เนล ( kernel ) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน
7. ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ เคอร์เนลที่ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำนั้นจะเข้าไปควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไป ซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ จะมีส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟิกหรือ GUI เพื่อสนับสนุนให้การใช้งานกับคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีก
ประเภทของการบู๊ตเครื่อง ดังที่อธิบายแล้วว่าการบู๊ตเครื่อง คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น2ลักษณะด้วยกันคือ
  • โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
  • วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
  • กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
  • กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ใช้
  • สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูบนระบบปฏิบัติการ

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัดกระแสไฟฟ้าของสายไฟจาก Power Supply





          สวัสดี คร้าบบบบบบบบ  วันนนี้เราจะจะมา พูดถึงกระแสไฟที่ Power supply จ่ายไปเลี้ยงส่วนต่างๆ   เราจะมาดูว่าแต่ละ เส้นมันมีค่าความต่างศักย์ เท่าไร   เราไปดูกันเลยนะคร้าบบบบบ +++++


      อันดับแรกนะครับ  เราทำการ ต่อปลั๊กให้ไฟ เข้าPower Supply  ก่อนนะครับ
จากนั้นทำการวัดกระแสไฟนะครับ โดย ให้สีดำ แตะที่ Power Supply  และสีแดง แตะที่สายแต่ละสายนะครับ



   










หลังจากที่วัดแล้วได้ค่า แบบนี้ครับ


>>>>>>  สวัสดี <<<<<<<